ยันต์อิติปิโสหูช้างตำราหลวงปู่ศุข ท่านอ.มนัส

ใครหวังความร่ำรวยให้บูชายันต์นี้ แผ่นยันต์และตะกรุดอิติปิโสหูช้าง

มหาโภคทรัพย์ มีกินไม่รู้สิ้น ค้าขายกำไรแสนทะนาน ตำรับโบราณหลวงปู่ศุข

วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่อ.มนัสได้รับสืบทอดมาจากหลวงพ่อพุฒ สารสุข

รายการยันต์อิติปิโสหูช้าง มหาโภคทรัพย์ มี 2แบบดังนี้ (มีค่าจัดส่ง EMS 60 บาทต่อครั้ง)

1.แผ่นยันต์อิติปิโสหูช้าง แบบแผ่น ขนาดประมาณ 4*5นิ้ว ไว้ใต้หมอนหรือที่เก็บเงิน (พร้อมคาถาบูชากำกับเฉพาะตำรับหลวงพ่อพุฒ)

2.ตะกรุดอิติปิโสหูช้าง แบบม้วน ขนาดยาวประมาณ 4 นิ้ว ไว้สำหรับพกติดตัว (พร้อมคาถาบูชากำกับเฉพาะตำรับหลวงพ่อพุฒ)

พุทธคุณแผ่นยันต์และตะกรุดอิติปิโสหูช้าง

หากเป็นแผ่นยันต์ให้ใส่ไว้ใต้หมอนที่เรานอน หรือใส่ในที่เก็บเงินเก็บทอง ในเซฟ ในลิ้นชักร้านค้า ร้านขาย
แต่หากเป็นแบบตะกรุดให้เอาติดตัวหรือใส่กระเป๋าสะพายเอาไปด้วย แล้วหมั่นสวดภาวนาพระคาถาทุกเช้า-ค่ำ เชื่อกันมาแต่โบราณว่าจะมีทรัพย์สินเพิ่มพูนทวีคูณ จะดึงดูดแต่เรื่องเป็นมงคลเข้ามาในชีวิต คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ไม่ฝันร้าย ฝันผวา และจะฝันดีมีโชคแปลกๆ หากเป็นนักบวช สมณะชีพราหมณ์ ก็จะมีผู้เลื่อมใสศรัทธามาทำบุญอุปัฏฐากไม่ขาดสาย เพราะขนาดหลวงพ่อพุฒ ท่านเป็นพระที่ไม่เคยเรี่ยไร แต่กลับมีคนมากมายพากันมาถวายข้าวของ เงินทองให้ท่านมิได้ขาด ซึ่งจะเห็นได้จากตลอดชีวิตของท่านได้พัฒนาวัดมาแล้วมากมายเป็น10วัด

ยันต์อิติปิโสหูช้างนี้ ส่วนมากคนที่ทราบจะรู้ว่าเป็นเพียงพระคาถา แต่ตำราที่อ.มนัสได้สืบทอดมาจากหลวงพ่อพุฒ สารสุขนั้นไม่ใช่แค่คาถา แต่ว่าเป็นยันต์ ซึ่งหลวงพ่อพุฒเองท่านก็ได้เรียนวิชานี้สืบต่อมาจากพระอาจารย์ใหญ่ของท่าน นั่นก็คือหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกที และหลวงพ่อพุฒเองท่านก็ประจักษ์ในพุทธคุณและให้ความเคารพยันต์อิติปิโสหูช้างนี้อย่างมาก โดยท่านจะเอาใส่ไว้ใต้ที่นอนท่านและภาวนาไม่เคยได้ขาดเลย

มาปัจจุบันนี้ท่านอ.มนัสได้ทำการสร้างพระยันต์อิติปิโสหูช้างนี้ขึ้นมา เพื่อสืบทอดวิชาและบูชาครูของท่าน นั่นก็คือหลวงพ่อพุฒ สารสุข และเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ตำราวิชานี้สาบสูญไป ในเรื่องพุทธคุณนั้นสำหรับตัวอ.มนัสท่านเองท่านก็เชื่อมั่นในพุทธคุณยันต์นี้มาก เพราะกิจการของท่านเองก็เจริญรุ่งเรือง เฟื่องฟูมาโดยตลอด แม้แต่ลูกศิษย์ลูกหา ผู้ที่เคารพศรัทธาที่ได้ยันต์นี้ไปจากอ.มนัส หากหมั่นภาวนาคาถาบูชาด้วยความเชื่อมั่น ล้วนต่างก็ได้รับผลเป็นที่อัศจรรย์ใจทั้งสิ้น

Visitors: 39,165